วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ : วีรกรรมชาวบ้านค่ายบางระจัน


วีรกรรมค่ายบางระจัน : การรบที่บางระจัน


                การรบที่บางระจัน เป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจัน ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี

         

 .....ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 5 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

                                                       
                                                         อนุสาวรีย์ บางระจัน...
             กองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512 โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."
ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"
จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน."
                                                                   

เพิ่มเติม : ปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จึงมีความเชื่อโน้มเอียงไปในทางที่ว่า วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันไม่มีอยู่จริง หรือมีอยู่จริง ก็ไม่ใช่วีรกรรมเพื่อชาติ แต่เป็นไปในลักษณะเป็นชุมนุมป้องกันตนเองจากผู้รุกราน และก็มีชุมนุมลักษณะนี้มากมาย ไม่เพียงเฉพาะบ้านบางระจัน และการต่อต้านทัพพม่าของชาวบ้านบางระจันก็ไม่น่ายาวนานถึง 5-6 เดือน น่าจะไม่เกิน 3 เดือน
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ระบาดอย่างมากในประเทศไทย เพื่อเป็นการปลุกใจให้รักและหวงแหนในชาติ เช่น มีการบรรจุในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ฯลฯ ความรับรู้ของคนทั่วไปจะรับรู้ผ่านทางแบบเรียน นิยาย ละคร รวมทั้งภาพยนตร์ และเชื่อตามการนำเสนอนั้นว่าวีรกรรมและตัวละครมีตัวตนจริง

               คลิป : ภาพยนตร์ตัวอย่างเรื่องบางระจัน

                                                      
    ที่มา เนื้อหาและรูปภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

การใช้ภาพเคลื่อนไหวในการประกอบ

1.แข่งรถที่คลอง5

2.นักเรียนมอต้นตบกัน(ม.3)

3.อุบัติเหตุ

4.ญี่ปูนมาฝึกมวยที่เมืองไทย

5.เอ็มวี เพลง คำตอบสุดท้าย

ที่มา: อ้างอิง เว็บyou tube

10 อันดับทรงผมสุดประหลาด











ที่มา : อ้างอิง http://campus.sanook.com/10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94-926414.html

ลิงค์10จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. จังหวัดขอนแก่น
  3. จังหวัดชัยภูมิ
  4. จังหวัดนครพนม
  5. จังหวัดนครราชสีมา
  6. จังหวัดบุรีรัมย์
  7. จังหวัดมหาสารคาม
  8. จังหวัดมุกดาหาร
  9. จังหวัดยโสธร
  10. จังหวัดร้อยเอ็ด
อ้างอิง ที่มา:วิกิพีเดีย