วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ : วีรกรรมชาวบ้านค่ายบางระจัน


วีรกรรมค่ายบางระจัน : การรบที่บางระจัน


                การรบที่บางระจัน เป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจัน ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี

         

 .....ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 5 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

                                                       
                                                         อนุสาวรีย์ บางระจัน...
             กองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512 โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."
ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"
จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน."
                                                                   

เพิ่มเติม : ปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จึงมีความเชื่อโน้มเอียงไปในทางที่ว่า วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันไม่มีอยู่จริง หรือมีอยู่จริง ก็ไม่ใช่วีรกรรมเพื่อชาติ แต่เป็นไปในลักษณะเป็นชุมนุมป้องกันตนเองจากผู้รุกราน และก็มีชุมนุมลักษณะนี้มากมาย ไม่เพียงเฉพาะบ้านบางระจัน และการต่อต้านทัพพม่าของชาวบ้านบางระจันก็ไม่น่ายาวนานถึง 5-6 เดือน น่าจะไม่เกิน 3 เดือน
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ระบาดอย่างมากในประเทศไทย เพื่อเป็นการปลุกใจให้รักและหวงแหนในชาติ เช่น มีการบรรจุในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ฯลฯ ความรับรู้ของคนทั่วไปจะรับรู้ผ่านทางแบบเรียน นิยาย ละคร รวมทั้งภาพยนตร์ และเชื่อตามการนำเสนอนั้นว่าวีรกรรมและตัวละครมีตัวตนจริง

               คลิป : ภาพยนตร์ตัวอย่างเรื่องบางระจัน

                                                      
    ที่มา เนื้อหาและรูปภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

การใช้ภาพเคลื่อนไหวในการประกอบ

1.แข่งรถที่คลอง5

2.นักเรียนมอต้นตบกัน(ม.3)

3.อุบัติเหตุ

4.ญี่ปูนมาฝึกมวยที่เมืองไทย

5.เอ็มวี เพลง คำตอบสุดท้าย

ที่มา: อ้างอิง เว็บyou tube

10 อันดับทรงผมสุดประหลาด











ที่มา : อ้างอิง http://campus.sanook.com/10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94-926414.html

ลิงค์10จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. จังหวัดขอนแก่น
  3. จังหวัดชัยภูมิ
  4. จังหวัดนครพนม
  5. จังหวัดนครราชสีมา
  6. จังหวัดบุรีรัมย์
  7. จังหวัดมหาสารคาม
  8. จังหวัดมุกดาหาร
  9. จังหวัดยโสธร
  10. จังหวัดร้อยเอ็ด
อ้างอิง ที่มา:วิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ร้านอาหาร ภูเก็ตซีฟู้ด (ครัวบ้านริมคลอง) เชียงใหม่ (Phuket Seafood Chiangmai)


 
 
ร้าน : ร้านอาหาร ภูเก็ตซีฟู้ด (ครัวบ้านริมคลอง) เชียงใหม่ (Phuket Seafood Chiangmai)
ที่ตั้ง : 59/19 หมู่ 1, ถ. เลียบคลองชลประทาน เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ : 053-414024, 086-6697071, 083-6083692
อีเมล์ : phuketseafood@gmail.com
เว็บไซต์ : www.phuketseafood-chiangmai.com / http://www.facebook.com/photo.php?pid=46153&l=e2e8f657ce&id=100001
เปิดบริการ : 11:00น.-23:30น.
ราคาต่อคน(โดยประมาณ) : 0 บาท
ส่วนลด : ลด 10 % (ค่าอาหาร)
แผนที่ : คลิก
     
 
 
- เพียงท่านบอกทางร้านว่าดูจากเว็บไซต์ doochiangmai.com
   รับส่วนลดไปเลย 10% ถ้าชำระเป็นเงินสด (เฉพาะค่าอาหาร)
   แต่ถ้าชำระเป็นบัตรเครดิตจะลด 7 % ครับ
-ที่จอดรถกว้างขวาง ปลอดภัย และมี รปภ. ดูแลความปลอดภัย
  ในระหว่างที่ท่านรับประทานอาหาร
 
 
 
     
  ด้วยรสชาติอาหารทะเลที่อร่อยไม่แพ้ใคร ใช้ของสดที่ส่งตรงจากทะเลจริงๆ วันต่อวัน ให้ลูกค้าได้ทานกันเหมือนได้ทานอาหารทะเลจากต้นตำรับสูตร “ภูเก็ตซีฟู้ด” เลยก็ว่าได้ ทางทีมงานดูเชียงใหม่ ขอแนะนำร้านอาหาร ภูเก็ตซีฟู้ด (ครัว บ้านริมคลอง)เชียงใหม่ ร้านอาหารทะเลสดๆ สูตรภูเก็ตที่ขึ้นชื่อ สำหรับคนเมืองเชียงใหม่ครับ

 ร้านอาหาร ภูเก็ตซีฟู้ด(ครัวบ้านริมคลอง) เชียงใหม่ เป็นร้านบรรยากาศสบายๆติดริมดอย มีโปรเจคเตอร์ขนาด 160 นิ้วสำหรับการถ่ายทอดฟุตบอลหรือรายการดีๆให้ท่านได้รับชมและมีดนตรีสดเพราะๆขับกล่อมเคล้ากับรสชาติอาหารที่อร่อย ที่มีทั้งอาหาร ไทย จีน แต่ทางร้านจะเน้นอาหารทะเลแบบสดๆรสชาติที่ทางทีมงานได้ทานแล้วต้องขอบอกว่ายอดเยี่ยมเลยทีเดียว ส่วนราคาก็แล้วแต่ตามขนาดที่ท่านเลือกเลยว่าจะเอา กุ้งหอย ปู ปลา ขนาดไหนมาทำเป็นอาหาร
 ถ้าท่านได้มาเยี่ยมเยียนเชียงใหม่แล้วอยากทานอาหารทะเลอร่อยๆ ขอเชิญทุกท่านลองเข้ามาลิ้มลองได้เลยครับที่ร้านอาหาร ภูเก็ตซีฟู้ด(ครัวบ้านริมคลอง) เชียงใหม่ ทีมงาน doochiangmai dot com ขอการันตีความอร่อยที่ทุกท่านได้ลองแล้วจะติดใจกลับมาทานอีกครั้งนึงครับ

**ทาง ร้านยังฝากบอกมาอีกว่า ลูกค้าไม่ได้เป็นผู้ที่จะต้องรับความเสี่ยงในการรับประทานอาหาร หากอาหารจานใดไม่สด ไม่อร่อย ทางร้านก็ยินดี เต็มใจ ที่จะไม่คิดราคาอาหารจานนั้นอีกด้วยครับ

ขอรายละเอียด และสำรองโต๊ะล่วงหน้า ที่ 053-414024, 086-6697071, 083-6083692

หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.phuketseafood-chiangmai.com/
 
 
มารู้จักกับซาลาเปาอร่อยที่สุดในเชียงใหม่กัน 
   
   
   
 
    


    หากเอ่ยถึงร้านซาลาเปา วิกุล” สันป่าข่อย ใครที่อยู่เชียงใหม่เป็นต้องร้อง อ๋อ กันอย่างแน่นอน กว่า 70 ปีแล้วที่ป้าวิกุล เกียรติพจนานันท์ (เจ้าของร้าน) และพี่น้องอีก 2 คนช่วยกันขายมาจนถึง ปี พ.ศ. 2552 นี้  




     ซาลาเปาของร้านวิกุลจะมีไส้หมูสับและไส้หวาน เมื่อใครได้ทานต่างก็ติดใจในรสชาติที่สุดยอดอร่อยซึ่งเป็นสูตรเฉพาะจากแต้จิ๋ว จีนแท้ดั้งเดิมที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นเตี่ยของป้าวิกุล (พ่อของเจ้าของร้าน) เลยทีเดียว โดยแป้งซาลาเปาที่นี่จะออกเหลืองนวลๆไม่เหมือนซาลาเปาทั่วๆไปที่เราเคยทานกัน เรื่องของรสชาตินั้นก็ไม่เคยเปลี่ยนไปจากเดิมเลยทีเดียว เคยทานมาตั้งแต่ไหนแต่ไรก็ยังคงเส้นคงวาของความอร่อยจนถึงทุกวันนี้


    นอกจากซาลาเปาสุดยอดความอร่อยแล้ว ทางร้านยังมีขนมจีบที่ทางร้านทำเองเช่นกัน เนื้อขนมจีบเป็นหมูสับรสชาตินุ่ม อร่อยไม่แพ้ซาลาเปาเลยครับ นอกจากนี้ทางร้านยังมีบ๊ะจ่างที่เป็นสินค้าขายดีอีกหนึ่งอย่างของร้านด้วยครับ โดยไส้บ๊ะจ่างจะมีเห็ดหอม ไข่เค็มแดง กุ้งแห้ง กุนเชียงคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวคลุกเครื่องเทศ อร่อยจริงๆครับ และยังไม่หมดเท่านี้ครับ ทางร้านยังทำขนมเปี๊ยะและขนมจันอับขายเองอีกด้วยซึ่งหลายๆคนที่ตั้งใจมาชิมเฉพาะซาลาเปาว่าจะอร่อยสมคำล่ำลือมั้ย ก็ต้องพ่วงซื้อขนมเปี๊ยะติดไม้ติดมือไปชิมกันอีกด้วย






    สำหรับใครที่ได้มาเที่ยวเมืองเชียงใหม่แล้วยังไม่เคยได้ลิ้มรสความอร่อยของซาลาเปาวิกุล สันป่าข่อย ก็ลองมาแวะลิ้มชิมรสกันดูนะครับ ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าทางร้านไม่มีที่ให้นั่งทานนะครับ ซื้อห่อกลับบ้านได้เท่านั้นครับ และที่สำคัญป้าวิกุลเค้าจะห่อซาลาเปาร้อนๆที่เพิ่งขึ้นจากซึ้งด้วยใบตองก่อนใส่ถุงกระดาษเพื่อเก็บความร้อนให้คงอยู่ได้นานเหมือนเพิ่งขึ้นจากซึ้งให้ท่านได้ไปทานที่บ้านอย่างอร่อยเหมือนเพิ่งขึ้นจากซึ้ง

    ร้านซาลาเปาวิกุล ซาลาเปา - ขนมจีบรสชาติอร่อยที่สุดในเชียงใหม่ยินดีต้อนรับทุกๆท่านที่มาเยือนเชียงใหม่ครับ  


   

 

จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติเชียงใหม่ (แบบย่อ)
             เชียงใหม่  เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า700ปี  นับตั้งแต่พญามังราย  พญางำเมือง  และพ่อขุนรามคำแหงร่วมกันสร้างเมืองขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  และขนานว่านพบุรีศรีครพิงค์  เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนา เชียงใหม่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกๆด้าน  เคยแผ่ขยายอาณาเขตกว้างไกลออกไปจรดเชียงตุงและเชียงรุ้ง ด้านการศาสนา ก็ได้เผยแผ่พุทธศาสนาไปทั่วอาณาจักรและยังจัดให้มีการประชุมสังคายนาพระ ไตรปิฎกขึ้นในรัชสมัยของพญาติโลก-ราช  ด้านวรรณกรรมได้มีวรรณกรรมพุทธศาสนาที่สำคัญๆ  เกิดขึ้นมากมาย เช่น  ชินกาลมาลีปกรณ์สิหิงคทาน  และปัญญาส-ชาดก  เป็นต้น

               เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครอง โดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี ในระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองและตั้งกรุงธนบุรี เป็นราชธานีนั้น  พญากาวิละซึ่งเป็นหลานเจ้าเมืองลำปางร่วมกับพญาจ่าเมือง  ขุนนางเมืองเชียงใหม่ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพระเจ้าตากสินและเข้าร่วม รบขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่สำเร็จ  ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพญากาวิละขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองใหม่  ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามและมีเชื้อสายของพระยากาวิละ ซึ่งเรียกว่า ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและลำปางสืบต่อมาจนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ.2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

              เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีขนบธรรมเนียม  ประเพณีวัฒนธรรม  และภาษาพื้นเมือง (ภาษาคำเมือง)  เป็นเอกลักษณ์ของตน อย่างเด่นชัด  และมีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก  มีสิ่งอำนวยความสะดวก  มีสนามบินที่ทันสมัย  เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้า  ศูนย์กลางทางการศึกษา  ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุขของภาคเหนือ 
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
 วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร 


วัดพระสิงห์ (พระธาตุประจำปีมะโรง) เป็นวัดที่สำคัญของนครเชียงใหม่ เพราะเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานกว่า 655 ปี สมัยแรก วัดนี้ได้ชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” หมายความว่า วัดที่ตั้งใกล้ตลาดกลางเมือง ในสมัยกษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์มังราย ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานในวัดนี้ จึงเรียกว่า “วัดพระสิงห์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดพระสิงห์ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ประเภทวรมหาวิหาร วัตถุสถานในวัด ทั้งพระอุโบสถ วิหารลายคำ วิหารหลวง หอไตร และภาพจิตรกรรมในวิหารลายคำ จึงทรงคุณค่า วัดแห่งนี้จึงเป็นที่รวมของตัวอย่างศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมล้านนามากที่สุด