วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติเชียงใหม่ (แบบย่อ)
             เชียงใหม่  เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า700ปี  นับตั้งแต่พญามังราย  พญางำเมือง  และพ่อขุนรามคำแหงร่วมกันสร้างเมืองขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  และขนานว่านพบุรีศรีครพิงค์  เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนา เชียงใหม่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกๆด้าน  เคยแผ่ขยายอาณาเขตกว้างไกลออกไปจรดเชียงตุงและเชียงรุ้ง ด้านการศาสนา ก็ได้เผยแผ่พุทธศาสนาไปทั่วอาณาจักรและยังจัดให้มีการประชุมสังคายนาพระ ไตรปิฎกขึ้นในรัชสมัยของพญาติโลก-ราช  ด้านวรรณกรรมได้มีวรรณกรรมพุทธศาสนาที่สำคัญๆ  เกิดขึ้นมากมาย เช่น  ชินกาลมาลีปกรณ์สิหิงคทาน  และปัญญาส-ชาดก  เป็นต้น

               เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครอง โดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี ในระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองและตั้งกรุงธนบุรี เป็นราชธานีนั้น  พญากาวิละซึ่งเป็นหลานเจ้าเมืองลำปางร่วมกับพญาจ่าเมือง  ขุนนางเมืองเชียงใหม่ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพระเจ้าตากสินและเข้าร่วม รบขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่สำเร็จ  ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพญากาวิละขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองใหม่  ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามและมีเชื้อสายของพระยากาวิละ ซึ่งเรียกว่า ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและลำปางสืบต่อมาจนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ.2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

              เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีขนบธรรมเนียม  ประเพณีวัฒนธรรม  และภาษาพื้นเมือง (ภาษาคำเมือง)  เป็นเอกลักษณ์ของตน อย่างเด่นชัด  และมีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก  มีสิ่งอำนวยความสะดวก  มีสนามบินที่ทันสมัย  เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้า  ศูนย์กลางทางการศึกษา  ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุขของภาคเหนือ 
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
 วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร 


วัดพระสิงห์ (พระธาตุประจำปีมะโรง) เป็นวัดที่สำคัญของนครเชียงใหม่ เพราะเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานกว่า 655 ปี สมัยแรก วัดนี้ได้ชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” หมายความว่า วัดที่ตั้งใกล้ตลาดกลางเมือง ในสมัยกษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์มังราย ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานในวัดนี้ จึงเรียกว่า “วัดพระสิงห์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดพระสิงห์ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ประเภทวรมหาวิหาร วัตถุสถานในวัด ทั้งพระอุโบสถ วิหารลายคำ วิหารหลวง หอไตร และภาพจิตรกรรมในวิหารลายคำ จึงทรงคุณค่า วัดแห่งนี้จึงเป็นที่รวมของตัวอย่างศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมล้านนามากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น